中泰对照|回顾金融危机二十五周年 泰国经济不重蹈覆辙
ครบรอบ 25 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง...สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันไม่ย้อนรอยอดีต
(กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3330)
回顾金融危机二十五周年 泰国经济不重蹈覆辙
(焦点话题 第3330期)
วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เป็นวันครบรอบ 25 ปี ที่ไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 โดยการตัดสินใจในครั้งนั้นนับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของไทย กลับมามองสถานการณ์ในปัจจุบัน เงินบาทในปีนี้มีทิศทางอ่อนค่าสอดคล้องกับหลายสกุลเงินในเอเชีย ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากปัจจัยของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่า สถานการณ์ในปัจจุบันมีความแตกต่างจากปี 2540 เพราะในปี 2540 เงินบาทที่อ่อนค่าเป็นผลมาจากการปรับอ่อนค่าหลังมีการลอยตัวค่าเงินเพื่อสะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอของไทยในเวลานั้น นอกจากนี้หากดูในเรื่องความผันผวนของค่าเงิน จะพบว่า ค่าความผันผวนของเงินบาทในปี 2565 ก็ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ซึ่งสะท้อนว่า ธปท. ยังคงช่วยดูแลความเคลื่อนไหวและลดความผันผวนของค่าเงินบาทท่ามกลางปัจจัยไม่แน่นอนรอบด้าน
2022年7月2日,是泰国自1997年宣布实行浮动汇率25周年纪念日。做出实行浮动汇率的决定是泰国汇率政策的一个重要转折点。反观今年,随着美联储加快加息步伐,泰铢与亚洲其他货币同步呈现出走软的态势。相比之后发现,当前的形势与1997年大有不同,1997年当时泰铢出现贬值是因为实行汇率浮动,反映了当时泰国经济基本面疲软。此外,从汇率波动来看,会发现2022年泰铢的波动幅度与亚洲其他货币的总体波动幅度基本一致,反映出泰国央行在全面不确定性的情况下继续监控泰铢走势并降低其波动性。
ยิ่งไปกว่านั้น จุดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงและแข็งแกร่งกว่าในอดีตมาก (ประมาณ 2.51 แสนล้านบาท ณ 24 มิ.ย. 2565) ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่างประเทศก็ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.2% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2564
另一个显著的变化是,当前泰国的外汇储备(2022年6月24日约为2,510亿美元)远远高于并强于1997年金融危机前的水平,同时2021年底外债占国内生产总值的比例降至38.2%。
นอกจากนี้ทางการได้เข้ามาดูแลการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะผ่านมาตรการ อาทิ การกำหนดเกณฑ์ LTV ซึ่งภาพเหล่านี้สะท้อนการเรียนรู้บทเรียนจากอดีตและการวางแนวทางเพื่อไม่ให้ไทยซ้ำรอยเดิม อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังมีโจทย์รออยู่แม้ไม่เหมือนกับในอดีต โดยปัจจุบันมีต้นตอของปัญหามาจากโควิด-19 สงครามยูเครน-รัสเซียซึ่งกระทบราคาน้ำมัน รวมถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทำให้มีทั้งประเด็นเฉพาะหน้าและโจทย์เชิงโครงสร้างที่ต้องติดตาม เช่นเดียวกับ ภาพของแบงก์ไทยวันนี้ที่แม้จะมีสถานะแข็งแกร่งกว่าปี 2540 แต่ก็มีโจทย์เรื่องการประคองความสามารถในการทำกำไร พร้อม ๆ กับการดูแลปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ และการเร่งช่วยปรับโครงสร้างหนี้ในระยะยาวให้กับลูกหนี้
此外,政府通过贷款房价比(LTV)规定等措施周期性监管房地产市场的投机活动,表明泰国已吸取金融危机的经验教训并制定了相关措施以防止重蹈覆辙。但是,不可否认的是当前泰国的经济仍面临挑战,虽然没以以往严重。目前,泰国还面临着新冠疫情、俄乌冲突造成油价高企以及美联储加息所造成的问题,需要持续关注当前的具体问题和结构性问题,正如现在的泰国银行尽管其状况比1997年更加稳固,但也面临着要保持盈利能力的挑战,必须处理不良贷款问题并加快高债务人长期债务结构。
จากภาพดังกล่าวสะท้อนว่า ปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะไม่เหมือนกับในปี 2540 และไทยก็ได้มีการเรียนรู้และปรับมาตรการและกฎเกณฑ์มาป้องกันการซ้ำรอย อย่างไรก็ดี โจทย์ที่สำคัญ ก็คือ การช่วยประคองภาคครัวเรือนและธุรกิจให้สามารถรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ แรงกดดันเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ/ต้นทุนที่สูง และดอกเบี้ยในประเทศที่กำลังจะขยับขึ้น พร้อม ๆ กับการวางแนวทางรับมือกับโจทย์เชิงโครงสร้าง ทั้งระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น การยกระดับทักษะแรงงาน การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเร่งผลักดันการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต
综上所述,现在泰国经济面临的问题不像1997年那样严重,泰国已经有经验并调整了相关措施和规定,避免重蹈覆辙。总之,关键在于帮助家庭和企业应对当前的紧迫问题,如通货膨胀、生活费用与成本上涨,以及国内加息的压力,同时也必须制定解决经济结构性问题的方针,包括降低债务水平、提升劳动力技能、应对老龄化问题以及加快推动产业结构调整,为泰国经济实现可持续增长并摆脱中等收入陷阱扫清障碍。
翻译:廖金凤 辛尚洁
校对:张诗敏 编辑:李伟婷